เมนู

ความไม่เคารพ. นั่งในที่ตรงหน้าเกินไป ถ้ามีความประสงค์จะดู จะต้องจ้องดู
ตาต่อตากัน. นั่งข้างหลังเกินไป ถ้ามีความประสงค์จะดู จะต้องยืนคอออกไปดู
เพราะฉะนั้น เวรัญชพราหมณ์ แม้นี้ จึงนั่งเว้นโทษแห่งการนั่ง 6 อย่าง
เหล่านั้นแล เหตุดังนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวไว้ว่า พราหมณ์นั้น
นั่งแล้ว ณ ที่ควรส่วนข้าวหนึ่ง.

[อรรถาธิบายศัพท์ต่าง ๆ มี เอตํ ศัพท์ เป็นต้น]


เวรัญชพราหมณ์ นั่งแล้ว ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล จึงได้กรามทูล
คำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยบทว่า เอตํ เป็นต้น พระอาจารย์แสดง
ใจความที่ควรจะกล่าวในบัดนี้. ท. อักษร ทำการต่อบท บทว่า อโวจ
แปลว่า ได้กราบทูลแล้ว. ประชุมบทว่า สุมมฺเมตํ ตัดบทเป็น สุตํ เม ตํ
แปลว่า ข้อนั้น ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว. พระอาจารย์แสดงในความที่ควรกล่าว
ในบัดนี้ด้วยคำว่า เอตํ มยา สุตํ เป็นต้น.
เวรัญชพรามหมณ์ ย่อมทูลเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยพระโคตรว่า
โภ โคตม แปลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! บัดนี้ ท่านพระอุบาลีเถระ
เมื่อจะแสดงข้อความที่เวรัญชพราหมณ์นั้นได้ฟังแล้ว จึงได้กล่าวคำมีอาทิ
อย่างนี้ว่า น สมโณ โคตโม. ในคำว่า สมโณ โคตโม เป็นต้นนั้น
มีการพรรณนาบทที่ไม่ง่ายดังต่อไปนี้ : -
บทว่า พฺราหฺมเณ ได้แก่ พราหมณ์โดยชาติ.
บทว่า ชิณฺเณ ได้แก่ เป็นคนแก่คร่ำคร่า คือถูกชราส่งให้ไปถึง
ความเป็นผู้มีอวัยวะหักเป็นท่อนเป็นต้น.
บทว่า วุฑฺเฒ ได้แก่ ผู้เข้าเขตแห่งความเจริญแห่งอวัยวะน้อยใหญ่.